Sunday 05th of January 2025
ภาพบรรยากาศ
การไปดูงานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในแมว |
|
|
|
เขียนโดย Administrator
|
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2010 เวลา 12:57 น. |
โครงการการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาระบบงานบริการ วิชาการ และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในกิจกรรม “คุยกันวันศุกร์”
เก็บเรื่องมาเล่าจาก : สพ.ญ.ชมพูนุท วังบุญ : ได้เล่าเรื่องการไปดูงานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในแมว(Feline infectious disease) ที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวถึงการติดเชื้อ Retrovirus ในแมวที่สำคัญ (Feline Retroviral infection) คือ ลิวคีเมีย (FeLV) และ เอดส์แมว(FIV) FeLV infection ♦ Provirus คือ RNA ของไวรัสที่เปลี่ยนเป็น DNA แล้วไปรวมอยู่กับ DNA ของ host ในนิวเคลียส ♦ Plasma viral RNA คือ RNA ของไวรัสที่อยู่ใน plasma ♦ p27 Antigenemia คือ โปรตีนชนิดหนึ่งเกาะที่ผิวของไวรัส ♦ Viremia คือ ไวรัสหรือ RNA ของไวรัสที่ล่องลอยในกระแสเลือด Retrovirus replication ♦ Viral RNA จับกับ specific receptor แล้วเคลื่อนเข้าเซลล์ ♦ Reverse transcriptase เปลี่ยน RNA ไวรัส เป็น DNA สายคู่ ♦ เข้าสู่นิวเคลียสเซลล์ ♦ Integrate เข้าไปใน DNA ของเซลล์ โดยการช่วยเหลือของเอนไซม์ วิธีการตรวจหาไวรัส(Virus isolation) ♦ PCR ตรวจหา provirus ♦ PCR ตรวจหา viral RNA ♦ “แมวที่หายป่วยโดยการตรวจไม่พบไวรัสแอนติเจน หรือพบระดับต่ำมากเป็นแมวที่ปริมาณ provirus หรือ plasma viral RNA ในเลือดต่ำ หรือสูงเพียงปานกลาง” ♦ หมายถึง แมวกลุ่มนี้ยังให้ผลบวกกับการตรวจหา provirus และอาจตรวจพบ หรือไม่พบ plasma viral protein ชนิดของ FeLV ได้แก่ A , B , C & T FeLV A : พบในแมวติดเชื้อทุกราย และเชื้อแพร่ไปแมวตัวอื่นได้ FeLV B : FeLV A + en FeLV(ยีนต์ที่อยู่ในร่างกาย) FeLV C : Mutation of env gene FeLV T : Target lymphocyte การแพร่ของเชื้อและการก่อโรค (FeLV transmission & pathogenesis) ♦ การแพร่โรคมาจากไวรัสในน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ และน้ำนม ♦ FeLV B และ C ไม่สามารถแพร่ไปตัวอื่นได้ จะต้องอยู่ใน genome กับ FeLV A เท่านั้น ♦ ไวรัสที่ออกนอกร่างกายถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป ♦ ลูกแมวมีโอกาสรับเชื้อและเป็นโรคในเวลาต่อมาได้ง่ายกว่าแมวโต ♦ ความรุนแรงของโรคไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสที่ได้รับในครั้งหนึ่ง Feline Immunodeficiency virus (FIV) ♦ การแพร่โรคสำคัญที่สุด คือ การกัดกัน ♦ แมวเลี้ยงปล่อยมีความเสี่ยงสูง ♦ เชื้อผ่านเข้าทางผิวหนัง และ mucosa อาการทางคลินิกในแมวติดเชื้อ FIV ♦ ส่วนใหญ่แมวติดเชื้อ แสดงอาการทางคลินิก เมื่ออายุ 4-6 ปี หรือหลังจากนั้น ♦ ขึ้นอยู่กับ variation ของไวรัส ♦ Immunodeficiency ♦ Immunostimulation ♦ chronic gingivostomatitis ♦ chronic rhinitis ♦ lymphadenopathy ♦ immune- mediated glomerulonephritis ♦ chronic weight loss ♦ FIV neuropathy การรักษา ♦ Zidovudine ♦ Ribavirin ♦ Interferons : จากกลุ่ม 3 นำวีดีโอเสนอเเกี่ยวกับงานบริการโรงแรม และ รีสอร์ท ในต่างประเทศ ซึ่งในแต่ละโรงแรม จะมีจุดขายและการให้บริการแตกต่างกัน เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาพัก และได้รับความสะดวก หรูหรา คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป สรุปแล้วทุก ๆ โรงแรมต้องการเน้นการบริการที่ประทับใจให้กับลูกค้ามากที่สุด ในทุก ๆ ด้าน เพราะการบริการที่ดีประทับใจ จะทำให้ลูกค้าคิดว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และคิดว่าไม่แพงกับการบริการดี ๆ ข้อคิดกับเพื่อนร่วมงาน : โดย นายกฤษฎา บำรุงกิจ : “ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตของคนออฟฟิศ” โรคออฟฟิศ ซินโดรม “OfficeSydrome” เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยอวัยวะต่าง ๆ เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอิริยาบถที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนัก ประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สภาพโต๊ะทำงานไม่เป็นระเบียบไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสมไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ การเพ่งสายตาที่หน้าจอส่งผลให้กล้ามเนื้อต้องทำงานมากขึ้น
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม 1. ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่าง เพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง 2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบายอย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน 3. จัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยให้ด้านขวาของโต๊ะไม่มีสิ่งของมากีดขวาง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่าง ๆ 4. ควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้กดแป้นพิมพ์ได้อย่างถนัด 5. เก้าอี้ควรเป็นแบบปรับขึ้นลงได้ มีพนักพิงที่สามารถรองรับศีรษะได้ด้วย 6. ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน 7. ควรฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น เมื่อนั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่ 8. ควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง หรือ เงยหน้าขึ้นมองออกไกล ๆ ทุก ๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา 9. ควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา เพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ 10. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 11. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนล้าจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ 12. หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเอง ด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
|
ขับเคลื่อนโดย Joomla!.
Designed by: Free Joomla 1.5 Template, what is auto-responder. Valid XHTML and CSS.