logo

Saturday 21st of December 2024

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่ระบบ

สมาชิกโปรดเข้าระบบ



ภาพบรรยากาศ

  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow

เห็บและการควบคุม PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:28 น.

เห็บและการควบคุม

เห็บเป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของสุนัขในเมืองไทย ซึ่งก่อปัญหาต่าง ๆ มากมายให้กับสุนัขและเจ้าของ

 

วงชีวิตของเห็บ

เห็บมีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ

1.        ไข่ (egg) จะรวมอยู่กันเป็นกอง ๆ ประมาณ 4,000 ฟอง

2.        ตัวอ่อน (larva หรือ Seed ticks) มี 6 ขา

3.        ตัวกลางวัย (Nymph) มี 8 ขา

4.        ตัวเต็มวัย (Adult) มี 8 ขา

ในวงจรชีวิตของเห็บจัดเป็น 3-host ticks หมายถึงในช่วงอายุของเห็บจะมีการออกจากตัวสุนัข 3 ครั้ง เพื่อวางไข่และลอกคราบ โดยสามารถอาศัยอยู่ตามพื้นบ้าน ผนัง มุมกรงสุนัข ตลอดจนสนามหญ้าที่สุนัขเดินผ่าน โดยที่จะมีการผสมพันธุ์กันบนตัวสุนัข แล้วลงมาวางไข่นอกตัวสุนัข หลังจากตัวเมียวางไข่แล้วก็จะตาย และก่อนที่เห็บจะออกจากตัวสุนัขทุกครั้ง เห็บจะดูดกินเลือดจนตัวเปล่งเต็มที่ (engorge) เสียก่อนเสมอ

 

ปัญหาและอันตรายที่เกิดจากเห็บ

1.  สูญเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และเกิดสภาวะโลหิตจางเนื่องจากทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดสุนัขนั่นเอง

2.  เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังติดเชื้อเป็นหนอง

3.  ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากน้ำลายเห็บ ทำให้สุนัขเกาและเกิดแผลตามมาได้

4.  การติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด

4.1  โรคไข้เห็บ (Babesiosis)

4.2  Ehrlichiosis

4.3  Hepatozoonosis

5.  ทำให้เกิดอัมพาตเนื่องจากเห็บ (Ticks paralysis)

การควบคุมและกำจัด

1.  การควบคุมโดยการใช้สารเคมี

2.  การควบคุมโดยชีววิธี

3.  การควบคุมแบบผสมผสาน

4.  การควบคุมโดยการใช้วัคซีน

ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการควบคุมโดยการใช้สารเคมีเท่านั้น เนื่องจากอีก 3 วิธีที่เหลือยังไม่เป็นที่นิยมและอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลอง

 

รูปแบบของการใช้สารเคมีในการกำจัดเห็บ

1. แชมพูกำจัดเห็บหมัด ประกอบไปด้วย แชมพูฟอกและทำความสะอาดตัวสุนัข ซึ่งจะมีส่วนของสารเคมีหรือสารสกัดจากธรรมชาติที่มีผลในการกำจัดเห็บหมัด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้เห็บหลุดจากตัวสุนัขชั่วคราว การอาบต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ก่อนล้างออก

2. แป้งโรยตัว ซึ่งผู้ผลิตมักแนะนำให้โรยตัวหลังอาบน้ำ แต่ผู้เขียนเห็นว่าควรจะโรยตัวก่อนการอาบน้ำมากกว่า เพื่อขจัดสารเคมีออกจากตัวสุนัขก่อนที่สุนัขจะเลียแล้วก่อให้เกิดความเป็นพิษได้

3.  สเปรย์ ใช้สารเคมีเจือจางพ่นลงบนตัวสุนัขโดยเฉพาะบริเวณที่เห็บเกาะ มีผลทำให้เห็บตายได้

4.  สารเคมีเข้มข้นชนิดผงหรือสารละลาย ที่ใช้ผสมน้ำเพื่อราดตัว จุ่มตัว หรืออาบตัวสุนัขเพื่อฆ่าเห็บและหมัด เหา สุนัขได้

5.  กลุ่มเวชภัณฑ์ชนิดฉีด มีฤทธิ์ทำให้เห็บเกิดอัมพาตจนตายได้

6.  กลุ่มสารเคมีหยดผิวหนัง (Spot on) สารเคมีจะคงตัวอยู่ในชั้นไขมันใต้ผิวหนังในช่วงเวลาหนึ่ง มีฤทธิ์ในการฆ่าเห็บหมัด

7.  ปลอกคอกันเห็บหมัด (Collars)

 

วิธีการควบคุมเห็บที่ถูกต้อง

เพื่อให้การควบคุมเห็บมีประสิทธิภาพสูง จำเป็นต้องมีการควบคุมเห็บพร้อมกันทั้ง 2 ส่วน คือ

1.   การควบคุมบนตัวสุนัข

2.   การควบคุมภายนอกตัวสุนัข หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยการพ่นสารเคมีกำจัดเห็บตามบริเวณซอกกรง บริเวณที่สุนัขนอน สนามหญ้า โดยใช้เครื่องสเปรย์คันโยกหรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้

 

หลักในการควบคุมเห็บสุนัขให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ อาจสรุปได้ดังนี้

1.   เลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง และเห็บไม่ดื้อต่อสารชนิดนั้น

2.   มีการควบคุมเห็บทั้งบนตัวสุนัขและภายนอกตัวสุนัข

3.   เลือกใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

4.   ใช้สารเคมีในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในฉลากกำกับสารเคมี

5.   ทำการควบคุมเห็บในสุนัขทุกตัวที่เลี้ยงอยู่รวมกัน หรือใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

6.   สามารถใช้รูปแบบการควบคุมเห็บบนตัวสุนัขได้มากกว่า 1 วิธี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คัดลอก ดัดแปลง และเรียบเรียงจากเอกสารการประกวดสุนัข 2545 “เห็บสุนัขและการควบคุม” ของ รศ. น.สพ. ดร.อาคม  สังข์วรานนท์ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2010 เวลา 09:56 น.
 

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่


รหัสป้องกันความปลอดภัย
รีเฟรช


mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday264
mod_vvisit_counterYesterday198
mod_vvisit_counterThis week1475
mod_vvisit_counterLast week1751
mod_vvisit_counterThis month5012
mod_vvisit_counterLast month8405
mod_vvisit_counterAll days1077000

We have: 11 guests online
Your IP: 172.17.0.1
Mozilla 5.0, 
Today: ธ.ค. 21, 2024
Visitors Counter

โพลสำรวจ

คุณหมอท่านใดที่ท่านมีความประทับใจมากที่สุด
 

โพลสำรวจ

ท่านมีความประทับใจในการบริการมากน้อยเพียงใด
 

ขับเคลื่อนโดย Joomla!. Designed by: Free Joomla 1.5 Template, what is auto-responder. Valid XHTML and CSS.