logo

Wednesday 04th of December 2024

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่ระบบ

สมาชิกโปรดเข้าระบบ



ภาพบรรยากาศ

  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow

โรคพิษสุนัขบ้า PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2010 เวลา 09:57 น.

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส Rabies virus เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง ทำให้สมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด เมื่อเกิดอาการของโรคแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายได้

 

โรคนี้ไม่ได้เกิดกับสุนัขเท่านั้น

จากชื่อของโรคทำให้เข้าใจผิดว่าเกิดกับสุนัขเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมทั้งคนด้วยจึงถือเป็น โรคสัตว์สู่คน”ที่สำคัญโรคหนึ่ง

 

อาการที่พบในสัตว์

มีทั้งแบบดุร้ายและแบบซึม โดยแบ่งระยะของโรคเป็น 3 ระยะ

  • ระยะเริ่มแรก

มีอารมณ์และนิสัยเปลี่ยนไป มีไข้เล็กน้อย ม่านตาขยาย ตอบสนองต่อแสงลดลง กินอาหารน้อยลง

  • ระยะตี่นเต้น

เริ่มมีอาการทางประสาท กระวนกระวาย  ไม่อยู่นิ่ง หงุดหงิด กัดทุกสิ่งไม่เลือกหน้า ตัวแข็ง บางครั้งชักกระตุก  สุนัขที่แสดงอาการ “แบบดุร้าย” จะแสดงอาการระยะนี้ยาวนานและเด่นชัด

  • ระยะอัมพาต

สัตว์ป่วยจะคางห้อย สิ้นห้อย น้ำลายไหล อาจแสดงอาการขย้อนคล้ายมีอะไรอยู่ในคอ เนื่องจากลิ้นเป็นอัมพาตไม่สามารถกินน้ำได้ ทำให้มีการเรียกชื่อโรคนี้อีกอย่างว่า“โรคกลัวน้ำ” ต่อมาขาอ่อนเปลี้ย อัมพาตขึ้นทั้งตัว และตายในที่สุด (ภายใน 10 วัน หลังแสดงอาการ) สัตว์ที่แสดงอาการระยะนี้เด่นชัดจะเรียกอาการ “แบบเซื่องซึม”

อาการที่พบในคน

ส่วนใหญ่จะมีอาการสมองและไขสันหลังอักเสบ เริ่มแรกจะมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ  เพลีย เบื่ออาหาร คันจากบริเวณที่ถูกกัดลามไปส่วนอื่นๆ ต่อมากระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม หนาวสั่น กลืนลำบาก น้ำลายไหล หายใจไม่ออก เป็นอัมพาต หมดสติ และตายในที่สุด

การติดต่อ

สัตว์ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนแสดงอาการ โดยเชื้อโรคจะอยู่ในน้ำลายของสัตว์ดังนั้นการติดเชื้อจะเกิดจากน้ำลายเข้าสู่บาดแผล และเยื่อเมือกบุตา จมูก ปาก

* ถ้าน้ำลายถูกผิวหนังปกติ ไม่มีรอยข่วนหรือบาดแผล ไม่มีโอกาสติดโรค *

ส่วนการติดเชื้อโดยการกิน หรือหายใจ มีโอกาสน้อยมาก ยกเว้นมีไวรัสในอากาศจำนวนมาก เช่น ในถ้ำค้างคาว

 

เมื่อถูกสุนัขกัดควรทำอย่างไร

  1. ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น โพรวิโดนไอโอดีน

  2. ไปพบแพทย์ เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง

  3. จำลักษณะอาการของสุนัข สาเหตุที่ถูกกัด ถามประวัติการฉีดวัคซีน กักไว้สังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยให้อาหาร และน้ำสัตว์กินด้วย

 

รู้ได้อย่างไรว่าสุนัขที่กัดนั้นไม่ใช่สุนัขบ้า

1.  สุนัขได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี เคยฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหลังสุดไม่เกิน 1 ปี

2.  สุนัขได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อยู่ในบริเวณรั้วรอบขอบชิด มีโอกาสสัมผัสสัตว์อื่นน้อย

3.  สุนัขมีอาการปกติดี กินน้ำกินอาหารได้

4.  ถูกกัดโดยมีเหตุโน้มนำ เช่น ไปรังแกหรือทำให้สุนัขโกรธ ตกใจ หรือสุนัขตัวนั้นชอบกัดคนเป็นประจำอยู่แล้ว

 

วิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

•  พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เมื่ออายุ 3 เดือน และตามกำหนดนัดเป็นประจำทุกปี

•  ไม่ปล่อยสุนัขไปเพ่นพ่านนอกบ้าน เพราะอาจได้รับเชื้อจากสุนัขจรจัด และทำการคุมกำเนิดสัตว์เลี้ยง เพื่อที่จะสามารถดูแลเอาใจใส่ได้ทั่วถึง

•  ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพราะอาจมีเชื้อพิษสุนัขบ้าติดมา

 

ถ้าสัตว์เลี้ยงถูกสุนัขบ้ากัดควรทำอย่างไร”

พามาพบสัตวแพทย์เพื่อพิจารณาทำการรักษาต่อไป

  • กรณีสุนัขไม่เคยทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน มีความเสี่ยงมาก ไม่ควรทำการรักษา

  • กรณีทำวัคซีนแล้วและเข็มสุดท้ายไม่เกิน 1 ปี อาจฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม แล้วสังเกตอาการ 90 วัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วันที่ 0,3,7,14 และ 30 ในทุกกรณี

ถ้าพบสัตว์ที่สงสัยให้ทำการส่งตรวจซาก


 

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่


รหัสป้องกันความปลอดภัย
รีเฟรช


mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday98
mod_vvisit_counterYesterday237
mod_vvisit_counterThis week810
mod_vvisit_counterLast week1759
mod_vvisit_counterThis month810
mod_vvisit_counterLast month8405
mod_vvisit_counterAll days1072798

We have: 5 guests, 3 bots online
Your IP: 172.17.0.1
 , 
Today: ธ.ค. 04, 2024
Visitors Counter

โพลสำรวจ

คุณหมอท่านใดที่ท่านมีความประทับใจมากที่สุด
 

โพลสำรวจ

ท่านมีความประทับใจในการบริการมากน้อยเพียงใด
 

ขับเคลื่อนโดย Joomla!. Designed by: Free Joomla 1.5 Template, what is auto-responder. Valid XHTML and CSS.