โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
Ø โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัขคืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร
คำตอบ โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในสุนัข ซึ่งจะทำให้สุนัขมีอาการอาเจียน และท้องเสีย โดยที่สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม แต่ที่สำคัญและมีความรุนแรงทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด คือไวรัสในกลุ่มที่เราเรียกว่า เชื้อพาร์โวไวรัส
Ø สุนัขติดเชื้อนี้ได้อย่างไร
คำตอบ ส่วนมากแล้วจะติดเชื้อโดยการกินเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมเข้าไป เช่น เลี้ยงปนกับสุนัขป่วยที่มีอาการอยู่แล้ว และสัมผัสเชื้อโดยการเลียเข้าไป หรือเจ้าของสัตว์เองจับสัตว์ป่วยตัวอื่นมาแต่ไม่ได้ทำความสะอาดมือ ถ้าสุนัขของเรามาเลียมือก็สามารถติดเชื้อได้เหมือนกัน
Ø ถ้าสุนัขติดเชื้อโรคนี้แล้วจะแสดงอาการป่วยอย่างไร
คำตอบ เราอาจแบ่งการติดเชื้อโรคได้หลายช่วงคือ การติดเชื้อในลูกสุนัขเล็ก และการติดเชื้อในสุนัขโต โดยพบว่าถ้าสุนัขเล็กติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการของโรครุนแรงมากกว่าในสุนัขโต
ในสุนัขเล็กที่ป่วยจะมีอาการซึม ไม่กินอาหาร มีไข้ อาเจียน ท้องเสียเป็นมูกเลือดและมีกลิ่นเหม็นคาวมาก ถ้าเป็นรุนแรงมากจะเกิดภาวะขาดน้ำตามมาและอาจเสียชีวิตได้
ในสุนัขโต ก็จะมีอาการคล้าย ๆ กับสุนัขเล็ก แต่ไม่รุนแรงมาก คือมีซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย และอัตราการเสียชีวิตก็น้อยกว่าในสุนัขเล็ก
Ø การวินิจฉัยโรคของทางโรงพยาบาลสัตว์ฯ ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง
คำตอบ มีอยู่หลายวิธี ข้อแรก คือ ดูจากประวัติการทำวัคซีน และอาการของสัตว์ป่วย
ข้อสอง คือ การตรวจเลือดเพื่อดูภาวะการติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด
ข้อสาม คือ การตรวจอุจจาระ โดยทางโรงพยาบาลสัตว์ฯ มีชุดทดสอบสำหรับโรคนี้ด้วย
Ø การควบคุมและป้องกันโรคนี้ทำอย่างไร
คำตอบ การสุขาภิบาลภายในคอกสัตว์หรือกรงสัตว์ที่ดี
- ทำความสะอาดกรงเป็นประจำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก็จะช่วยลดการติดเชื้อลงได้
1. ในกรณีที่มีสัตว์ป่วยอยู่แล้ว ควรทำการแยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ที่มีสุขภาพดี และในกรณีที่นำสัตว์เข้ามาอยู่ใหม่โดยไม่ทราบประวัติการทำ
วัคซีนที่แน่นอน เราควรแยกสัตว์ตัวนั้นไว้ดูอาการประมาณ 5-7 วัน เพื่อดูอาการก่อนนำเข้ามาเลี้ยงรวมกัน
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบให้กับแม่สุนัขก่อนทำการผสมพันธุ์ เพื่อให้ลูกสุนัขมีภูมิคุ้มกันจากแม่ โดยที่ลูกสุนัขจะมีภูมิคุ้มกันประมาณ 1
เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน
3. การฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัข เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยที่จะเริ่มนัดฉีดครั้งแรกที่อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง และจะต้องมา
ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อตามที่สัตวแพทย์นัดไว้
|