logo

Thursday 10th of October 2024

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่ระบบ

สมาชิกโปรดเข้าระบบ



ภาพบรรยากาศ

  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow
  • An Image Slideshow

การเลี้ยงและจัดการจัดการลูกสุนัข PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2011 เวลา 09:35 น.

การเลี้ยงและการจัดการลูกสุนัข

ก่อนที่เราจะเลือกซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยง หรือเลือกที่จะผสมพันธุ์สุนัขไว้เลี้ยงเอง มีข้อคิดในเรื่องของการวางแผนการดูแลลูกสุนัขและแม่สุนัขอย่างไรบ้าง

 

ระยะที่ 1 ก่อนการผสมพันธุ์หรือระยะก่อนการตั้งท้อง

เป็นระยะที่ต้องคอยดูแลแม่สุนัขที่จะทำการผสมพันธุ์ดังนี้

1. ทำวัคซีนตามกำหนดประจำปี หรือไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนผสมพันธุ์

2. ถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 3-4 เดือน หรือก่อนทำการผสมพันธุ์

 

ระยะที่ 2 ขณะตั้งท้อง

ให้จัดการเรื่องอาหารให้สมบูรณ์แต่ต้องไม่ให้แม่สุนัขอ้วนหรือผอมมากเกินไป และลดอาหารลงบ้างก่อนครบกำหนดคลอด 7-10 วัน เพื่อลดปัญหาการคลอดยาก

 

ระยะที่ 3 ก่อนคลอดและขณะคลอด

สุนัขตั้งท้องประมาณ 60 ± 5 วัน ดังนั้นเจ้าของสุนัขต้องสังเกตและจำวันผสมให้ได้เพื่อกำหนดวันคลอดโดยประมาณ ซึ่งจะมีอาการบ่งบอกก่อนการคลอดดังนี้

1. มีอาการกระวนกระวายอยู่ไม่สุข ประมาณ 1-2 วันก่อนคลอด

2. กินอาหารลดลงหรือไม่กินเลย 1-2 วันก่อนคลอด

3. อาการทำรังคล้ายจะเตรียมพื้นที่คลอด เช่น ขุดดิน หรือชอบไปแอบตามที่เงียบ ๆ ประมาณ 1-2 วันก่อนคลอด

4. มีน้ำนมไหล ประมาณ 12-24 ชั่วโมงก่อนคลอด

อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะพบได้ทุกอย่างหรือไม่พบเลยก็ได้ ส่วนมากจะพบในแม่สุนัขสาวมากกว่าแม่สุนัขที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว

 

อาการขณะคลอด

1. มีอาการเบ่ง โดยจะเห็นการเกร็งของช่องท้องเป็นระยะ

2. ถุงน้ำคร่ำโผล่ออกมาจากช่องคลอด

3. ถุงน้ำคร่ำแตกจนลูกคลอดออกมาใช้เวลา 10-15 นาที (ถ้าเกิน 30 นาที อาจมีปัญหาในการคลอด)

4. ระยะเวลาในการคลอดแต่ละตัวไม่ควรเกิน 1 ชม.

5. ทำการช่วยคลอด เช่น มัด-ตัดสายสะดือ ทายา ให้ลูกได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ทันที

 

ระยะที่ 4 หลังคลอด

การดูแลลูกสุนัขหลังคลอด คือการจัดการเรื่องอาหารกับสภาพแวดล้อม ต้องให้ลูกสุนัขได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ให้เร็วที่สุดและมากที่สุด เพื่อให้ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่สุนัขมาก ๆ รวมทั้งต้องอยู่สภาพของที่อยู่ไม่ให้อับชื้นจนเกินไป มีอากาศระบายที่ดี อากาศไม่ร้อนหรือเย็นมากเกินไป เริ่มหัดให้ลูกสุนัขกินอาหารตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์ และหย่านมแม่ที่อายุ 1-1 ½ เดือน โดยดูจากความสามารถในการกินอาหาร

โปรแกรมการจัดการลูกสุนัข (ตามแนวทางของโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ)

1. อายุ 1 เดือน ทำการถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนป้องกันหลอดลมอักเสบ*

2. อายุ 1 ½ เดือน ทำวัคซีนลำไส้อักเสบเข็มที่ 1 และ/หรือฉีดกระตุ้นโรคหลอดลมอักเสบ*

3. อายุ 2 เดือน กระตุ้นวัคซีนลำไส้อักเสบและฉีดวัคซีนไข้หัดเข็มที่ 1 พร้อมถ่ายพยาธิ

4. อายุ 2 ½ เดือน กระตุ้นวัคซีนลำไส้อักเสบและไข้หัด

 

5. อายุ 3 เดือน ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและวัคซีนรวม (ลำไส้อักเสบ + ไข้หัด) และถ่ายพยาธิ

 

โรคของลูกสุนัข ลูกสุนัขมักพบปัญหาหรืออาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ท้องเสีย อาเจียน สาเหตุเกิดจาก

1.1 พยาธิภายในลำไส้

1.2 แบคทีเรีย

1.3 เชื้อโปรโตซัว หรือบิด

1.4 ไวรัส เช่น ลำไส้อักเสบ ไข้หัด

2. ปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการไข้ หอบ ไอ มีน้ำมูก

3. โรคผิวหนัง สาเหตุเกิดจาก

3.1 ไรขี้เรื้อน ทำให้เกิดโรคขี้เรื้อนแห้งหรือเปียก

3.2 พยาธิภายนอกอื่น ๆ เช่น เห็บ เหา หมัด ยุง ทำให้เกิดการคัน ผิวหนังอักเสบ ขนร่วง

3.3 แบคทีเรีย ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มหนอง

3.4 เชื้อรา ทำให้เกิดขนร่วง หักง่าย คัน

3.5 ไวรัส ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มหนอง

 

การดูแลสุขภาพสุนัขโต

1. ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และวัคซีนรวมทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ

3. ถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 3-4 เดือน

4. ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2011 เวลา 10:16 น.
 

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่


รหัสป้องกันความปลอดภัย
รีเฟรช


mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday425
mod_vvisit_counterYesterday326
mod_vvisit_counterThis week1681
mod_vvisit_counterLast week2975
mod_vvisit_counterThis month3956
mod_vvisit_counterLast month12242
mod_vvisit_counterAll days1055993

We have: 5 guests online
Your IP: 172.17.0.1
 , 
Today: ต.ค. 10, 2024
Visitors Counter

โพลสำรวจ

คุณหมอท่านใดที่ท่านมีความประทับใจมากที่สุด
 

โพลสำรวจ

ท่านมีความประทับใจในการบริการมากน้อยเพียงใด
 

ขับเคลื่อนโดย Joomla!. Designed by: Free Joomla 1.5 Template, what is auto-responder. Valid XHTML and CSS.